โครงการอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐาน 2565 (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

Asia/Bangkok
สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Chakrit Pongkitivanichkul (Khon Kaen University)
Description

ความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์น (CERN: The European Organization for Nuclear Research) เกิดขึ้นด้วยพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่สนพระทัยในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของเซิร์น ในหลายวโรกาสได้ทรงมีพระราชดำริว่า หากนักวิทยาศาสตร์ของไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับเซิร์น จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยเป็นอันมาก เพื่อสนองแนวพระราชดำริดังกล่าว จึงได้เกิดการประสานงานระหว่างทีมผู้บริหารของเซิร์นและสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ถึงความเป็นไปได้ในการร่วมมือทางวิชาการในแขนงที่เกี่ยวข้อง กระทั่งในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเซิร์น ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2552 จึงได้มีการลงนามในเอกสารแสดงเจตจำนงความร่วมมือกัน (Expression of Interest in The Participation of Physicists from Universities and Research Institutes from Thailand in the CMS Experiment at the CERN LHC Accelerator (EOI) ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และกลุ่มการทดลอง CMS ที่ตั้งอยู่ ณ LHC ของเซิร์น โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระกรุณาธิคุณเสด็จประทับเป็นองค์ประธานสักขีพยานในการลงนามครั้งนั้นด้วย 

ภายหลังจากการลงนาม สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนฯ ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์น ซึ่งเริ่มดำเนินการโดยการจัดทำโครงการคัดเลือกนักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์ เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น และเพื่อให้การดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์นเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างสูงสุด คณะอนุกรรมการจึงได้ริเริ่มความร่วมมือทางวิชาการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียน การสอน การบริการทางวิชาการ และการวิจัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ 4 โครงการหลัก  อันได้แก่

โครงการคัดเลือกนักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์ เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น

โครงการ National e-Science Infrastructure Consortium

โครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเซิร์น

โครงการส่งเสริมนักศึกษาปริญญาโท-เอก นักวิจัยไปทำงานวิจัย ณ เซิร์น และพัฒนาให้เกิดการทำวิจัยร่วมกับเซิร์น

โครงการอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐานเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเซิร์น โดยมุ่งเน้นการให้การอบรมความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ใช้ความรู้ทางฟิสิกส์อนุภาคแก่นักเรียน นิสิต/นักศึกษา ครู และบุคคลทั่วไป โดยจัดเป็นกิจกรรมประจำทุกปี และมีโรงเรียน/มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เวียนกันเป็นเจ้าภาพในการดำเนินกิจกรรม


โครงการอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐาน (ภูมิภาค) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 7 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565 นี้ เป็นการจัดโครงการอบรมฯ ในส่วนภูมิภาคภายใต้โครงการความร่วมมือไทยเซิร์น โดยมีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเจ้าภาพ เพื่อเผยแพร่ความรู้ฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงแก่นิสิต นักศึกษา ที่ศึกษาอยู่ในส่วนภูมิภาค (ภาคเหนือ) และผู้สนใจทั่วไป เพื่อใช้ในการศึกษาต่อหรือทำวิจัยต่อไปในระดับสูง รวมถึงกระตุ้นให้นิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไป เห็นถึงความสำคัญของฟิสิกส์พลังงานสูง ฟิสิกส์ของเครื่องเร่งอนุภาค พลาสมา ฟิวชัน และดาราศาสตร์

รับสมัคร: 29 สิงหาคม - 30 กันยายน พ.ศ. 2565

*** รับจำนวนจำกัดเพียง 70 คน โดยผู้สมัครที่ได้รับการตอบรับให้เข้าร่วมโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนและการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการฯ แต่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเข้าร่วมอบรม และค่าที่พักเอง ***


 

Registration
ลงทะเบียนเข้าร่วมค่ายอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐาน 2565 (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
Participants
  • Natthason Autthisin
  • +45
    • 1
      ลงทะเบียน
    • 2
      พิธีเปิด และแนะนำการอบรม
    • 3
      แนะนำ CERN (ผศ.ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ)
      Speaker: Phat Srimanobhas (Chulalongkorn University (TH))
    • 10:15
      พักรับประทานอาหารว่าง
    • 4
      ฟิสิกส์ของอนุภาคเบื้องต้น (ผศ.ดร.ภาวิน อิทธิสมัย)
      Speaker: Pawin Ittisamai (Chulalongkorn University)
    • 12:00
      พักรับประทานอาหารกลางวัน
    • 5
      เครื่องเร่งอนุภาคเบื้องต้น (ดร.ฐกลวรรธน์ จันทร์วัฒนะ)
      Speaker: Dr Thakonwat Chanwattana (Synchrotron Light Research Institute (SLRI))
    • 14:30
      พักรับประทานอาหารว่าง
    • 6
      แนะนำโครงการ Thai – CERN/DESY/GSI-FAIR และ เสวนาประสบการณ์การเข้าร่วมโครงการ Thai-CERN Thai-DESY และ Thai-GSI-FAIR
      Speakers: Chakrit Pongkitivanichkul (Khon Kaen University), Phat Srimanobhas (Chulalongkorn University (TH))
    • 7
      การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นที่ LHC (ผศ.ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ)
      Speaker: Phat Srimanobhas (Chulalongkorn University (TH))
    • 10:15
      พักรับประทานอาหารว่าง
    • 8
      สสารมืดและพลังงานมืดเบื้องต้น (ผศ.ดร.ชาคริต พงษ์กิติวณิชกุล)
    • 12:00
      พักรับประทานอาหารกลางวัน
    • 9
      ปัญหาฟิสิกส์ที่ยังแก้ไม่ได้ในปัจจุบัน (ดร.ณภัทร ภู่วุฒิกุล)
      Speaker: NAPAT POOVUTTIKUL
    • 14:30
      พักรับประทานอาหารว่าง
    • 10
      อนุภาคนิวตริโนเบื้องต้น (รศ.ดร.ปฏิภาณ อุทยารัตน์)
      Speaker: Dr Patipan Uttayarat
    • 11
      ฮาดรอนฟิสิกส์เบื้องต้น (ผศ.ดร.ดริศ สามารถ)
      Speaker: Daris Samart (Khon Kaen University)
    • 10:15
      พักรับประทานอาหารว่าง
    • 12
      แนะนำ Boron Neutron Capture Therapy (ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ฤทธิ์จอหอ)
      Speaker: ณรงค์ฤทธิ์ ฤทธิ์จอหอ
    • 12:00
      พักรับประทานอาหารกลางวัน
    • 13
      การประยุกต์ใช้ Nuclear Magnetic Resonance เบื้องต้น (รศ.ดร.วิวัฒน์ ยังดี)
      Speaker: วิวัฒน์ ยังดี
    • 14:30
      พักรับประทานอาหารว่าง
    • 14
      การประดิษฐ์เครื่องตรวจจับอนุภาคชนิด Cloud Chamber ด้วยตัวเอง (ปริญญ์ สวัสดิผล)
      Speaker: ปริญญ์ สวัสดิผล
    • 15
      ทัศนศึกษา