จากการที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริและทรงเล็งเห็นว่า หากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทางานวิจัยร่วมกับ CERN ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ชั้นนำระดับโลกก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศเป็นอันมากนั้น เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กลุ่มวิจัยทางด้านฟิสิกส์อนุภาค สาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างความร่วมมือ องค์กรแห่งยุโรปเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์หรือเซิร์น (CERN) โดยได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาระบบติดตามทางเดินภายใน (Inner Tracking System, ITS) ของหัววัดไอออนหนักอลิซ (ALICE) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2555 และได้เริ่มทำวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาหาวัสดุที่เหมาะสมในการผลิตเซนเซอร์ที่มีขนาดพิกเซลประมาณ 28 x 28 ไมโครเมตร และ มีความบางเพียง 50 ไมโครเมตร ร่วมทดสอบการทำงานและวัดประสิทธิภาพของเซนเซอร์ต้นแบบโดยใช้ลำอิเล็กตรอน, ทำการจำลองสถานการณ์การวัดอนุภาคที่เคลื่อนที่ผ่าน ออกแบบและทดสอบระบบควบคุมการรับส่งข้อมูลของหัววัดเข้ากับระบบประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2562 โดยบทบาทและงานที่ทางเราได้ส่งมอบงานให้แก่ทางอลิซคือ ผลงานในเฟส ITS เดิม (ITS2) ทาง อลิซ เซิร์น ได้มีการนำโมเดล และงานของทางจากกลุ่มวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ไปใช้ในส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญของหัววัดอลิซ

หลังสิ้นสุดโครงการในเฟส ITS เดิม (ITS2) ทางกลุ่มนักวิจัยได้เล็งเห็นโอกาสในการขยายผลการวิจัยและพัฒนาความร่วมมือกับทีมนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเบอร์เกน ราชอาณาจักรนอร์เวย์ ในการสร้างต้นแบบของเครื่องสร้างภาพในการรักษามะเร็งด้วยโปรตอน (Proton Computed Tomography) จากเซนเซอร์ ALPIDE และ พัฒนาชุดโปรแกรมติดตามทางเดินอนุภาคที่ได้จากความร่วมมือ อลิซ มาประยุกต์ใช้กับต้นแบบของเครื่องสร้างภาพในรักษามะเร็งด้วยโปรตอน โดยชุดความรู้และนักวิจัยที่ได้รับการฝึกฝนจากความร่วมมือ ITS2 นี้ จะถูกพัฒนาและส่งต่อไปเพื่อขยายความร่วมมือกับนักวิจัยต่างประเทศมากขึ้นโดยผ่านโครงการ การสร้างเครื่องสร้างภาพในการรักษามะเร็งด้วยโปรตอน ต่อไป และในโครงการ ITS3 นี้จะเป็นการมีส่วนร่วมของนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนา ออกแบบหัววัดให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีเทคโนโลยีในการติดตามอนุภาคที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยท้ายที่สุดแล้วเป้าหมายจากการออกแบบและทดสอบหัววัด ITS3 นั้นเราจะนำเทคโนโลยีการออกแบบหัววัด ซิลิคอน CMOS ใน ITS3 เพื่อสร้างหัววัดที่เป็นรูปแบบของเราเองเพื่อแทนที่หัววัด ALPIDE ที่ถูกใช้เป็นต้นแบบ เพื่อติดตามทางเดินอนุภาคโปรตอนในเครื่องสร้างภาพในรักษามะเร็งด้วยโปรตอนต่อไป ผ่านนักวิจัยที่มีประสบการณ์ที่จะร่วมทำงานกับโครงการนี้

นอกจากนี้ ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกับทางอลิซในการผลิต และออกแบบหัววัดที่มีขนาดบางและโค้งได้จะสามารถต่อยอดงานวิจัยสู่ระดับที่เราสามารถนำเทคโนโลยีมาสร้างหัววัดซิลิคอนที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับทางอลิซออกแบบเพื่อมาใช้ประโยชน์ในวงการวิจัย ทางการแพทย์ และอุตสาหกรรม เช่น การทำเครื่องสร้างภาพในรักษามะเร็งด้วยโปรตอน ( Proton Computed Tomography) เพื่อสร้างหัววัดซิลิคอนเพื่อติดตามทางเดินของอนุภาคโปรตอนในการรักษามะเร็งด้วยโปรตอน เป็นต้น

zoom link: https://cern.zoom.us/j/92537830492?pwd=eWVVNnVFaWN4V2JxQjFjNytEL3dhZz09

Starts
Ends
Asia/Bangkok
Suranaree University of Technology, Nakhon Ratchasima, Thailand